กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มีนโยบายในการนำงานด้าน อววน. ไปพัฒนาพื้นที่ โดยบูรณาการงาน 3 ศาสตร์ (วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) สู่การแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดในทุกมิติ อันจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเป็นสำคัญ จึงได้มีแนวคิดที่จะนำงานด้านอววน. สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดทุกพื้นที่ โดยมีแนวคิดจัดตั้ง “หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของ อว. ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” หรือ “อว.ส่วนหน้า” จำนวน 76 จังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อสอดรับนโยบาย “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในระดับพื้นที่จังหวัด” โดยให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่และเป็นผู้แทนในคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เป็น อว.ส่วนหน้า โดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานดังนี้

            1) อว.ส่วนหน้า (Chief Technical Officer: CTO ของจังหวัด) จะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ในพื้นที่ โดยเน้นคณะทำงานระดับจังหวัดที่มีสถาบันการศึกษาในสังกัด อว. เป็นหน่วยขับเคลื่อนและประสานงานร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด

            2) การดำเนินงานต้องตอบโจทย์ความต้องการในพื้นที่ โดยวิเคราะห์ข้อมูลยุทธศาสตร์จังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด อัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ และสภาพปัญหาความเดือดร้อน แล้วนำองค์ความรู้แบบบูรณาการศาสตร์ทั้งด้าน อววน. รวมทั้งด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไปร่วมบูรณาการแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริง

            3) กำหนดเป้าหมายเป็นภาพใหญ่ระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค แต่การปฏิบัติให้มุ่งเน้นระดับฐานรากเช่น ระดับตำบล เพื่อสร้างรากแก้วที่แข็งแรงให้ประเทศชาติ โดยเชื่อมโยงโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล”เพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

            4) มุ่งเน้นการสร้างคน เช่น นักศึกษา ให้เป็น Data Connector ในพื้นที่ โดยให้มีความรู้เรื่อง Data Science เพื่อเป็นกำลังของ อว. หรือ “อาสาสมัคร อว.” ที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงบวก เป็นปึกแผ่น และช่วยกันทำงาน โดยแบ่งการบ่มเพาะเป็น Sector ตามภารกิจหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ เน้นการสร้าง “วิศวกรสังคม” ซึ่งเป็นโครงการตามพระราโชบาย เป็นต้น

           จากนโยบาย รมว.อว. ให้มี  “อว. ส่วนหน้า” จึงมีคำสั่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ 226/2562 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า และแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน จำนวน 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่และหน่วยงานในสังกัด อว. ทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของ อว. ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (อว. ส่วนหน้า) และส่วนใหญ่หัวหน้า อว. ส่วนหน้า เป็นผู้แทนในคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัด โดยหัวหน้าหน่วย อว. ส่วนหน้า แต่ละแห่งต้องดำเนินการ ดังนี้

            – จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของ อว. ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (อว. ส่วนหน้า) ประจำจังหวัดที่หน่วยงานรับผิดชอบ

            – แต่งตั้งคณะทำงาน อว. ส่วนหน้า ประจำจังหวัด ที่ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงาน อว. ในพื้นที่ได้แก่

            (1) หัวหน้าหน่วย อว. ส่วนหน้าประจำจังหวัด   

            (2) ผู้แทนสถาบันการศึกษาในพื้นที่            

            (3) ผู้แทนหน่วยงานในสังกัด อว. ในพื้นที่                 

            (4) ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีของทุกมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 

            (5) ผู้แทนอุทยานวิทยาศาสตร์ในพื้นที่                              

            (6) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ อันจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของจังหวัด

            – จัดทำรูปแบบการดำเนินงานของ อว. ส่วนหน้า ประจำจังหวัด ที่สามารถเชื่อมโยงกลไกและสนับสนุนการดำเนินงาน ดังนี้

            (1) คณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด

            (2) การขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในการพัฒนาจังหวัดด้วย อววน. ในระดับเครือข่าย อว. ภูมิภาค

            (3) โครงการสำคัญของ อว. อาทิ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T) Reinventing University คลินิกเทคโนโลยี หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย เป็นต้น

            (4) การบูรณาการหน่วยงานในสังกัด อว. และหน่วยงานในพื้นที่จังหวัด

                – ดำเนินการตามนโยบายของผู้บริหาร อว. และกิจกรรมตามภารกิจและหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของ อว. ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (อว. ส่วนหน้า)

                – จัดทำแผนงาน/โครงการด้าน อววน. เพื่อเตรียมความพร้อมในการบรรจุเข้าสู่แผนพัฒนาพื้นที่(แผนพัฒนาภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด และท้องถิ่น)

                – ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของจังหวัด ในระบบฐานข้อมูลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมในพื้นที่ (Area Based) ของหน่วยงานในสังกัด อว. (Geographical Area Based Mapping : G-map) ที่เว็ปไซด์ https://gmap.mhesi.go.th รายไตรมาส 4 ไตรมาสทั้งนี้อว. ส่วนหน้า จะได้นำองค์ความรู้ด้าน อววน. ของ อว. ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาจากบุคลากรเฉพาะ ที่มีสมรรถนะสูง เครือข่ายมหาวิทยาลัย และหน่วยงานในสังกัด อว. โดยการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value Based Economy) ซึ่งจะต้องขับเคลื่อนงานวิจัยที่จะนำไปพัฒนาประเทศฐานนวัตกรรมที่เป็น Demand-side และ บูรณาการงาน 3 ศาสตร์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ อันจะแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดในทุกมิติ เพื่อการลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเป็นสำคัญ ซึ่ง อว. ส่วนหน้า มีหน้าที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานด้าน อววน. เพื่อการพัฒนาจังหวัด ดังนี้

            – ประสานการนำงานด้าน อววน. เพิ่มขีดความสามารถผนวกกับศักยภาพจังหวัด

            – ขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการด้าน อววน. ในจังหวัด

            – ส่งเสริมการนำงานด้าน อววน. สนับสนุนจังหวัด

          – เป็นหน่วยงานฯ ม้าเร็ว ที่จะรับประเด็นปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด

ภารกิจของ อว.ส่วนหน้า

หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (อว.ส่วนหน้า) จะเป็นข้อต่อสำคัญในการเชื่อมโยง

  • องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของ อว. ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาจากบุคลากรเฉพาะที่มีสมรรถนะสูงจากอุทยานวิทยาศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยและหน่วยงานในสังกัด อว. โดยการสร้างและพัฒนาความรู้ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value Based Economy) ซึ่งจะต้องขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาที่จะนำไปสู่นวัตกรรมที่เป็น Demand-side
  • บูรณาการงาน 3 ศาสตร์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สู่การแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดในทุกมิติ อันจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของ อว. ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน มีหน้าที่สำคัญในการผลักดันภารกิจใน 4 ด้าน คือ
    • ประสานการนำงานด้าน อววน. เพิ่มขีดความสามารถผนวกกับศักยภาพจังหวัด โดยบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายของสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในสังกัด อว. เพื่อนำศักยภาพของจังหวัด ชุมชนและท้องถิ่น มาผสมผสานกับการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ไปสู่การพัฒนากระบวนการผลิต การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเสริมศักยภาพการตลาด ส่งผลให้มีการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัด

    • ขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการด้าน อววน. ในจังหวัด เป็นหน่วยงานฯ กลางในการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัด อว. และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการด้าน อววน. บรรจุในแผนพัฒนาพื้นที่ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จังหวัด กลุ่มจังหวัดและระดับภาค

    • ส่งเสริมการนำงานด้าน อววน. สนับสนุนจังหวัด เป็นหน่วยงานฯ ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรม บริการให้คำปรึกาด้าน อววน. การสร้างความตระหนักงานด้าน อววน. ประชุมวิชาการและนิทรรศการ เพื่อนำองค์ความรู้ด้าน อววน. เข้าไปร่วมพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการงานด้าน อววน. ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัด อันจะก่อให้เกิดการสร้าง ขับเคลื่อนและพัฒนางานด้าน อววน.ไปสู่ประเทศฐานนวัตกรรม (Innovation Nation)

    • เป็นหน่วยงานฯ ม้าเร็ว ที่จะรับประเด็นปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด แล้วประสานหน่วยงานเจ้าขององค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงต่อไป

      การดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า อว. ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน จะเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ แต่มีความสำคัญในการประสานงานให้เกิดแผนงาน/โครงการ และกิจกรรมต่าง