

Workshop การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ววน. ระดับภูมิภาค 2567-70
“โมเดลเศรษฐกิจ BCG ทำหน้าที่บูรณาการการพัฒนาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างคุณค่าเพิ่มจากฐานความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและนวัตกรรมด้วยกลไกจตุภาคี (Quadruple Helix)”


Workshop การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ววน. ระดับภูมิภาค 2567-70
“โมเดลเศรษฐกิจ BCG ทำหน้าที่บูรณาการการพัฒนาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างคุณค่าเพิ่มจากฐานความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและนวัตกรรมด้วยกลไกจตุภาคี (Quadruple Helix)”
Workshop การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ววน. ระดับภูมิภาค 2567-70
หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า อว. จังหวัดสุรินทร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉลอง สุขทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กชนิภา อุดมทวี รองอธิการบดี พร้อมผู้แทนอุทยานวิทยาศาสตร์ คลินิกเทคโนโลยี และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และบุคลากร อว.ส่วนหน้าจังหวัดสุรินทร์ ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ววน. ระดับภูมิภาค ในวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมหลักประกอบด้วย
1) การรับฟังนโยบายและแนวทางของกระทรวง อว. ในการดำเนินการปรับโครงสร้างการทำงานร่วมกันเป็นเส้นทางเดียว (One Route Cooperative Restructuring) เพื่อประโยชน์งานด้าน ววน. สู่การพัฒนาจังหวัด ภายใต้แนวคิด การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (Infrastructure Development Platform: IDP) การพัฒนาเศรษฐกิจฐาน ววน. (Economic Development Platform: EDP) และ การพัฒนาสังคมด้วย ววน. (Social Development Platform: SDP) โดย อว.ส่วนหน้า จะเป็นหน่วยประสานและปฏิบัติงาน จัดการความรู้ ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับพื้นที่ โดยเป็นหน่วยที่จะสนองนโยบายในการดำเนินการปรับโครงสร้างการทำงานร่วมกันเป็นเส้นทางเดียวในระดับจังหวัด ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ คลินิกเทคโนโลยี และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนมหาวิทยาลัย
2) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
ประเด็นที่ได้จัดทำแผนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แบ่งเป็น 3 เป้าหมายใหญ่ คือ 3G Direction ได้แก่
– Green Good Environment ประเด็นสำคัญในการพัฒนา ได้แก่ ข้าว ปศุสัตว์ และเศรษฐกิจชีวภาพ
– Growth Good Local Economy ประเด็นสำคัญในการพัฒนาได้แก่ ผ้าทอ และสมุนไพร
– Gate Good Opportunity ประเด็นสำคัญในการพัฒนา คือ การท่องเที่ยว
3) ร่วมพิธีลงนามบันทึกความตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม” ระหว่าง “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” และ “กระทรวงมหาดไทย”
4) ร่วม พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจังหวัด” ระหว่าง “ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉลอง สุขทอง อธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรชนิภา อุดมทวี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น พยานในการลงนามฝ่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์